ประวัติวันสงกรานต์
ประวัติวันสงกรานต์ หรือ ตำนานของสงกรานต์ นี้มีปรากฎในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ความว่า
ความว่า
“ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง อายุเลยวัยกลางคนก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล ซึ่งทำให้ท่าน
เศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา
ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐีสบประมาทในความมีทรัพย์มาก
แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไรจึงแสดงอาการเยาะเย้ย
และสบประมาท เฒ่านักดื่มจึงตอบ ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง แต่เป็นคนมีบาปกรรมท่านจึง
ไม่มีบุตร ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจนแต่ก็มีบุตรคอย
ดูแลรักษายามเจ็บไข้ และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจ
เศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา
ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐีสบประมาทในความมีทรัพย์มาก
แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไรจึงแสดงอาการเยาะเย้ย
และสบประมาท เฒ่านักดื่มจึงตอบ ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง แต่เป็นคนมีบาปกรรมท่านจึง
ไม่มีบุตร ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจนแต่ก็มีบุตรคอย
ดูแลรักษายามเจ็บไข้ และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจ
นับแต่นั้นมา เศรษฐียิ่งมีความเสียใจ จึงพยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพียรพยายาม
ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนาจนวันหนึ่ง
เป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง
ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง 7 ครั้ง
แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไป
เฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ “ธรรมบาล”
ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐี
จึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น
ถวายเทพต้นไทร
ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนาจนวันหนึ่ง
เป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง
ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง 7 ครั้ง
แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไป
เฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ “ธรรมบาล”
ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐี
จึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น
ถวายเทพต้นไทร
เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้น เป็นเด็กที่มีปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ และวัยเพียง 7 ขวบก็เรียนจบ
ไตรเพท เมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ในขณะนั้น
โลกทั้งหลายนับถือ “ท้าวกบิลพรหม” ซึ่งได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย
จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา 3 ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหา
ทั้ง 3 ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับ
ความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า
ไตรเพท เมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ในขณะนั้น
โลกทั้งหลายนับถือ “ท้าวกบิลพรหม” ซึ่งได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย
จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา 3 ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหา
ทั้ง 3 ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับ
ความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า
ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด
เมื่อได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้ จึงผลัดวันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน
ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ เมื่อนึกขึ้นว่า
พรุ่งนี้จะต้องตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม จึงจำใจหลบหนีออกจากปราสาทเข้าไปในป่า
และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถาม
สามีว่า “พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน” นกสามีก็ตอบว่า “พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล
เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้”
นางนกถามว่า “ปัญหานั้นว่าอย่างไร” นกสามีจึงอธิบายให้ฟังว่า
ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ เมื่อนึกขึ้นว่า
พรุ่งนี้จะต้องตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม จึงจำใจหลบหนีออกจากปราสาทเข้าไปในป่า
และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถาม
สามีว่า “พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน” นกสามีก็ตอบว่า “พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล
เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้”
นางนกถามว่า “ปัญหานั้นว่าอย่างไร” นกสามีจึงอธิบายให้ฟังว่า
ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน
ธรรมบาลกุมาร ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก จึงกลับสู่ปราสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้ง 7 ของตนอันเป็นบริจาริกาคือหญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน จึงสั่งให้ธิดาทั้ง 7 คน เอาพานมารองรับศีรษะ แล้วจึงตัดศรีษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
- ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
- ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)
- ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
- ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
Tag: ประวัติวันสงกรานต์
นางสงกรานต์
วันอาทิตย์ นางสงกรานต์คือ นางทุงษ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือสังข์มีครุฑเป็นพาหนะ
วันจันทร์ นางสงกรานต์คือ นางโคราค ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีเสือเป็นพาหนะ
วันอังคาร นางสงกรานต์คือ นางรากษหรือรากษส ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต หัตถ์ขวาถือตรีศูล หัตถ์ซ้ายถือธนูมีสุกรเป็นพาหนะ
วันพุธ นางสงกรานต์คือ นางมณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาถือเข็ม หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีลาเป็นพาหนะ
วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์คือ นางกริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาถือขอช้าง หัตถ์ซ้ายถือปืน ช้างเป็นพาหนะ
วันศุกร์ นางสงกรานต์คือ นางกิมิทา ทัดดอกจงกลนีเครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ กระบือเป็นพาหนะ
วันเสาร์ นางสงกรานต์คือ นางมโหทร ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือตรีศูล มีนกยูงเป็นพาหนะ
ความหมายจากตำนานสงกรานต์
ตำนานสงกรานต์เป็นตำนานที่แต่งขึ้นเพื่ออธิบายความเป็นมาของการรดน้ำ ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญในประเพณีสงกรานต์สัญลักษณ์ในตำนานมีดังนี้
ศีรษะท้าวกบิลพรหม เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ ความร้อนและความแห้งแล้งเพราะช่วงที่มีประเพณีสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัด
น้ำ เป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ดังภาษิตไทลื้อว่า “ดินก่อเกิด น้ำก่อเป็น (ดินเป็นแหล่งที่ให้พืชพันธุ์เกิดและน้ำทำให้มีชีวิตอยู่ได้) น้ำยังเป็นสัญลักษณ์ของความเย็น ความสดชื่นและความสะอาด จึงเหมาะที่จะใช้เพื่อแสดงความปรารถนาดีต่อกัน และใช้แสดงถึงความสะอาดผ่องแผ้วของกายและใจที่จะเริ่มชีวิตใหม่ในโอกาสขึ้นปีใหม่
นางสงกรานต์ เป็นผู้ดูแลไม่ให้ศีรษะตกถูกพื้นดิน ทำให้ไม่เกิดภัยพิบัติน่าจะเป็นเพราะสตรีเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นแม่ เลี้ยงดูและคอยปกป้องคุ้มครองลูก จึงเหมาะที่จะช่วยคุ้มครองโลกให้ร่มเย็น และอุดมสมบูรณ์
ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีของสังคมเกษตรกรรม คนไทยในภาคกลางมีประกาศสงกรานต์ซึ่งแสดงให้เห็นคติความเชื่อทางโหราศาสตร์โดยนำเรื่องธิดาท้าวกบิลพรหมซึ่งเรียกกันว่านางสงกรานต์มาทำนายเกี่ยวกับผลผลิตทางเกษตรกรรมและเหตุการณ์บ้านเมือง ในประกาศสงกรานต์แต่ละปีจะบอกชื่อของนางสงกรานต์ซึ่งผลัดเปลี่ยนกันมาถือพานที่รองรับศีรษะพ่อมีรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งกาย สัตว์พาหนะ ลักษณะการนั่งนอนบนพาหนะซึ่งจะทำนายถึงความอุดมสมบูรณ์หรือความขาดแคลนของพืชพรรณธัญญาหารความสงบเรียบร้อยหรือความยุ่งยากของบ้านเมือง
เนื่องจากคนไทยให้ความสำคัญแก่บรรพบุรุษ และเคยมีการเซ่นไหว้ผีด้ำหรือผีเรือน ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษในหลายโอกาส โดยเฉพาะเมื่อขึ้นปีใหม่ ดังที่ 10 ประเพณี สงกรานต์ยังพบการปฏิบัตินี้ในกลุ่มชนชาติไทที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อคนไทยนับถือพระพุทธศาสนาและรับประเพณีสงกรานต์เข้ามาเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญต่อการแสดงความกตัญญูและความปรารถนาดีต่อกัน เป็นเวลาที่ลูกหลานรำลึกถึงญาติที่ล่วงลับไป และแสดงคารวะต่อญาติผู้ใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีในสังคมที่นับถือพระพุทธศาสนา จึงมีการบำเพ็ญกุศลทางศาสนา เพื่อให้ใจผ่องแผ้วก่อนการขึ้นปีใหม่ ในขณะเดียวกันก็เป็นประเพณีที่ผู้คนมีโอกาสสนุกสนาน มีการเล่นสาดน้ำและการละเล่นเพื่อความรื่นเริงบันเทิงใจ
Tag: ประวัติวันสงกรานต์
เกร็ดความรู้ วันสงกรานต์
1. ก่อนที่เราจะถือ วันสงกรานต์ เป็นปีใหม่แบบไทยนั้น สมัยโบราณ เราถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปี ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิต เป็น วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 หรือประมาณเดือนเมษายน ครั้นในปีพ.ศ. 2432 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายน และต่อมาในปี พ.ศ. 2483 จอมพลป.พิบูลสงครามก็ได้ประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่จนปัจจุบัน อันเป็นการนับแบบสากล อย่างไรก็ดี คนไทยในหลายภูมิภาคก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ ซึ่งแต่เดิมแม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ก็ไม่ได้ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ดังเช่นปัจจุบัน จนเมื่อ พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา จึงได้กำหนดเป็นวันที่ 13 เมษายน ตามปฏิทินเกรกอรี่
2. นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมีมอญ พม่า ลาว และชนชาติไทยเชื้อสายต่างๆอันเป็นชนส่วนน้อยในจีน อินเดีย ก็ถือว่าสงกรานต์เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน
3. ภาคกลาง เรียกวันที่ 13 เมษายน ว่า “วันมหาสงกรานต์ ซึ่งวันนี้ทางการได้ประกาศให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ (13 เมษายน) ” วันที่ 14 เมษายน เรียก “วันเนา” และรัฐบาลสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณได้ประกาศให้เป็น “ วันครอบครัว (14 เมษายน) ” ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียก “วันเถลิงศก” คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่
4. ทางล้านนา เรียกวันที่ 13 เมษายนว่า “วันสังขารล่อง” ซึ่งบางท่านให้ความหมายว่า หมายถึงอายุสิ้นไปอีกปี วันที่ 14 เมษายนเรียก “วันเน่า” เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่เจริญ ส่วนวันที่ 15 เมษายนเรียก “วันพญาวัน” คือวันเปลี่ยนศกใหม่
5. ภาคใต้ เรียกวันที่ 13 เมษายนว่า “วันเจ้าเมืองเก่า” หรือ “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์ ส่วนวันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “วันว่าง” คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ดังนั้น ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่างๆ แล้วไปทำบุญที่วัด ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไปประจำเมืองอื่นแล้ว
6. ตำนานสงกรานต์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับ สงกรานต์ และ นางสงกรานต์ ที่เรารู้จักกันดีเป็นตำนานที่ รัชกาลที่ ๓ โปรดให้จารึกไว้ในแผ่นศิลา 7 แผ่น ติดไว้ที่ศาลารอบพระมณฑปทิศเหนือใน วัดพระเชตุพนฯ หรือ วัดโพธิ์
7. นางสงกรานต์ เป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุด มีด้วยกัน 7 องค์เป็นพี่น้องกัน และต่างก็เป็นบาทบริจาริกา แปลว่า นางบำเรอแทบเท้า หรือเรียกง่ายๆว่า เป็น “เมียน้อย” ของพระอินทร์ จอมเทวราช และเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหมในตำนาน
8. นางสงกรานต์ มีชื่อตามแต่ละวันในสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ ชื่อ นางทุงษะ วันจันทร์ ชื่อ นางโคราคะ วันอังคาร ชื่อ นางรากษส วันพุธ ชื่อ นางมณฑา วันพฤหัสบดี ชื่อ นางกิริณี วันศุกร์ ชื่อ นางกิมิทา วันเสาร์ชื่อ นางมโหทร
9. นางสงกรานต์ แต่ละองค์จะมีพาหนะทรงต่างกัน ตามลำดับแต่ละวัน คือ นางทุงษะขี่ครุฑ นางโคราคะขี่เสือ นางรากษสขี่หมู นางมณฑาขี่ลา นางกิริณีขี่ช้าง นางกิมิทาขี่ควาย และนางมโหทรขี่นกยูง ซึ่งสัตว์ที่เป็นพาหนะทรงจะมิใช่ปีนักษัตรของปีนั้นๆ ตามที่หลายคนเข้าใจผิด
10. นางสงกรานต์ ในปี 2548 อันเป็นปีระกานี้ มีชื่อนางมณฑาเทวี นอนหลับตามาบนลาที่เป็นพาหนะทรง กินนมเนยเป็นภักษาหาร ทัดดอกจำปา ประดับไพทูรย์ คือแก้วสีเหลืองแกมเขียว หรือน้ำตาลเทา มีน้ำเป็นสายรุ้งกลอกไปมา อาวุธเป็นไม้เท้าและเหล็กแหลม
11. คำว่า “ดำหัว” ปกติแปลว่า “สระผม” แต่ในประเพณีสงกรานต์ล้านนา จะหมายถึง การไปแสดงความเคารพ ขออโหสิกรรมที่อาจได้ล่วงเกินในเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งการไปขอพรจากผู้ใหญ่ ซึ่งหมายถึงญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ในเมืองหรือครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา โดยส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยไปไหว้ท่าน และท่านก็จะจุ่มแล้วเอาน้ำแปะบนศีรษะเป็นเสร็จพิธี
12. ในสมัยก่อนเมื่อใกล้ สงกรานต์ หรือ วันสงกรานต์ จะมีสัตว์ชนิดหนึ่งที่คนแต่ก่อนเรียกว่า “ตัวสงกรานต์” เป็นสิ่งมีชีวิตลักษณะคล้ายไส้เดือน แต่เล็กขนาดเส้นด้าย ยาวประมาณ 2 นิ้ว มีสีเลื่อมพราย เป็นสีเขียว เหลือง แดง ม่วง เปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ จะอยู่กันเป็นฝูงในแม่น้ำลำคลอง เมื่อกระดิกตัวว่ายน้ำจะทำให้เกิดประกายสีต่างๆสวยงามแปลกตา ถ้าจับพ้นน้ำ สีจะจางหายไป ตัวจะขาดเป็นท่อนเล็กๆและเหลวละลาย ปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
13. มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทราย มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ 8 หมื่น 4 พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง 8 หมื่น 4 พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia.org และ กระทรวงวัฒนธรรม