ประเพณีการเทศน์มหาชาติ
ความนิยมและความสำคัญของเรื่องมหาชาติชาดกปรากฏให้เห็นได้จากวรรณกรรมที่แต่งขึ้นมากมาย ทั้งต่างสำนวนและต่างยุคสมัยเฉพาะที่เป็นฉบับหลวงก็มีมากมายในลักษณะของรูปแบบคำประพันธ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีมหาชาติฉบับท้องถิ่นต่างๆ อีก เช่น ทางภาคเหนือมีมหาชาติภาคพายัพเขียนเป็นภาษาล้านนามีหลายฉบับและหลาย สำนวนทางภาคอีสานมีมหาชาติคำเฉียงส่วนทางภาคใต้มีมหาชาติชาดกฉบับวัดมัชฌิมาวาสสงขลาเป็นต้นและยังมีมหาชาติสำนวนต่างๆ อีกมากมายที่แต่งกันเองโดยอิสระกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติจึงปรากฏในสังคมไทยทุกภูมิภาคทั้งในราชสำนักและในหมู่ประชาชนทั่วไปในราชสำนักปรากฏเป็นพระราชพิธีในวังหลวงมาแต่สมัยสุโขทัยแล้วในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ถึงกับทรงโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งทรงธรรมด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นที่ทรงธรรมในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติพระราชพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนาคราวหนึ่งแม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้งที่ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศก็ทรงหัดเทศน์กัณฑ์มัทรีจนกลายเป็นธรรมเนียมให้พระราชโอรสถวายเทศน์มหาชาติในวังหลวง
ในท้องถิ่นโดยเฉพาะในเขตภาคอีสานถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำคัญที่สุดของปีจะจัดขึ้นในราวเดือน ๔ เรียกว่า บุญพระเวสทั้งยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลนี้ด้วย เช่นพิธีแห่พระเวสเข้าเมืองและพิธีแห่ข้าวพันก้อนเพื่อบูชาคาถาพันทางภาคเหนือก็ให้ความสำคัญกับการเทศน์มหาชาติมากเห็นได้จากมีประเพณีสร้างหลาบเงินหรือแผ่นเงินแกะลาย แขวนห้อยรอบฉัตรถวายเป็นเครื่องขันธ์ตั้งธรรมหลวงในงานบุญเทศน์มหาชาติแผ่นเงินเหล่านี้จะจำหลักเป็นรูป ลวดลายต่างๆ ส่วนทางภาคใต้นั้นประเพณีเทศน์มหาชาติได้คลี่คลายไปเป็นประเพณีสวดด้านซึ่งคล้ายคลึงกับการสวดโอ้เอ้วิหารรายอย่างกรุงเทพฯ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามจะเห็นว่าประเพณีเทศน์มหาชาติที่เป็นประเพณีหลวงได้ส่งผลกระทบต่อประเพณีราษฎร์อย่างกว้างขวางแต่ท้องถิ่นได้พัฒนารูปแบบการเทศน์และประเพณีต่างๆ ให้แตกต่างไปเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาคในภาคกลางจะคงลักษณะสำคัญของประเพณีหลวงไว้มาก เช่น ในการเทศน์มักจะมีปี่พาทย์ประโคมขณะดำเนินพิธีตามแบบของหลวงด้วยเชื่อว่าเป็นการเสริมศรัทธาให้เกิดความปีติในผลบุญที่ได้บำเพ็ญกับทั้งเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้ที่ได้ยินเสียงปี่พาทย์ได้ทราบว่ากำลังมีพิธีเทศน์มหาชาติอยู่ผู้ใดรับกัณฑ์เทศน์ใดไว้จะได้ตระเตรียมตัวได้ทันปี่พาทย์ในงานเทศน์มหาชาติจะเริ่มด้วยเพลงโหมโรงและกำหนดเพลงปี่พาทย์ประจำซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ตามแบบหลวงที่มีความศักดิ์สิทธิ์และถือเป็นเพลงชั้นสูงทั้งสิ้น เช่น กัณฑ์ทศพร ใช้เพลงสาธุการ กัณฑ์หิมพานต์ใช้เพลงตวงพระธาตุเป็นต้น การเทศน์มหาชาติในส่วนที่เป็นประเพณีราษฎร์นอกจากจะรักษาขนบแบบราชสำนักที่เน้นความศักดิ์สิทธิ์แล้วยังแฝงด้วยความสนุกสนานและการละเล่นแทรกอยู่ด้วย เช่น พระที่เทศน์มหาชาติกัณฑ์ต่างๆ อาจว่าแหล่เพื่อให้ผู้ฟังได้รสยิ่งขึ้นที่มีประจำกัณฑ์ที่เรียกว่าแหล่นอกนี้จะแต่งเป็นพิเศษนอกเนื้อเรื่องพระเวสสันดรก็ได้หรือชาวบ้านในบางท้องที่แถบภาคกลางจะมีการเล่นมหาชาติทรงเครื่องเวลามีพิธีเทศน์มหาชาติ ซึ่งชาวบ้านจะรับมาจากวัดและไปเล่นกันเองต่อมาชาวบ้านกลับไปชวนพระมาเล่นด้วยกันจึงเป็นการเล่นระหว่างแม่เพลงที่มีเสียงดีที่มักรับบทเป็นพระนางผุสดี หรือพระ-นางมัทรี กับพระที่มักจะรับบทพระเวสสันดรและชูชก เป็นต้นจะเห็นได้ว่าคติธรรมต่อการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธศาสนาโดยเฉพาะคติของการทำบุญให้ทานการกลับชาติมาเกิดของพระโพธิสัตว์คือพระเวสสันดรความเชื่อเรื่องบุญ-กรรมอยู่ในสำนึกของชาวไทยทั้งสังคม ด้วยอิทธิพลของมหาชาติชาดกที่มีบทบาทอย่างสูงในการสร้างบูรณาการทางศาสนาให้เกิดขึ้นต่อชาวไทยทุกภูมิภาคมาเป็นเวลาช้านานแล้วพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่งต่อกระบวนการเชื่อมต่อประเพณีหลวงสู่ประเพณีทำให้เกิดความกลมกลืนในทางวัฒนธรรมที่มีพระพุทธศาสนาเป็นสัญลักษณ์แห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมกันท่ามกลางคติความเชื่อในท้องถิ่นที่แตกต่างกันลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ที่เห็นจากประเพณีการแสดงให้เห็นถึงเจตนาในการพยายามเผยแพร่ประเพณีหลวงสู่ท้องถิ่นโดยตรงอิทธิพลของประเพณีหลวงที่ส่งต่อประเพณีราษฎร์กระทำโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่มีวัดเป็นศูนย์กลางในการให้การศึกษาและอบรมสั่งสอนสอดแทรกค่านิยมจากราชสำนักที่เน้นแบบแผนที่เป็นระเบียบให้คล้ายคลึงกันแต่ความโน้มเอียงของประเพณีราษฎร์ที่จะเลียนแบบประเพณีหลวงตามธรรมชาติของการยกย่องแบบแผนจากราชสำนักเป็นพื้นเดิมของสังคมชาวนาอยู่แล้วทำให้ประเพณีหลวงบางอย่างกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการเอาอย่างโดยที่ราชสำนักเองไม่ได้มีเจตนาหรือต้องการจะมีอิทธิพลแต่ประการใดดังจะยกประเพณีการเผาศพมาเป็นกรณีตัวอย่างให้เห็นพอสังเขปการเทศน์มหาชาติเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทุกภาคของประเทศซึ่งถือปฎิบัติสืบด่อกันมาเป็นเวลาช้านานจนเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของสังคม ชาวพุทธไทย โดยมีความเชื่อว่า การฟังเทศน์มหาชาติทำให้ผู้ฟังได้บุญมาก และในขณะที่ฟังก็ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปด้วย ถ้ายิ่งพระเทศน์เสียงดี ๆ ก็ยิ่งทำให้ฟังซาบซึ้งยิ่งขึ้น เทศน์มหาชาติเป็นงานใหญ่ ไม่มีใครสามารถจัดให้มีขึ้นมาได้โดยลำพังวัดใดจะจัดให้มีเทศน์มหาชาติจะต้อง เริ่มด้วยการระดมกำลังคน ประชุมปรึกษาหารือแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ วางแผนดำเนินงานไว้แต่เนิ่น ๆ เช่น จัดทำความสะอาดบริเวณวัด ประดับตกแต่งธรรมาสน์ ศาลาการเปรียญ เตรียมหาต้นกล้วยต้นอ้อย ตลอดทั้งจัดทำธงทิวประดับประตูกำแพงวัด เป็นต้น จัดได้ว่าเป็นงานใหญ่ในรอบปีเลยทีเดียว การเตรียมงานเทศน์มหาชาติ จึงเป็นประเพณีที่สร้างสรรค์ความสมานสามัคคีของประชาชน ทำให้ประชาชนรู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ รู้จักแบ่งหน้าที่และรับผิดชอบร่วมกันตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(๒๕๔๒:๕๔๐:๘๓๘) ให้ความหมาย “เทศน์” ว่าการแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา และ “มหาชาติ” น. เรียกเวสสันดรชาดกว่า มหาชาติ มี ๑๓ กัณฑ์. การมีเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชากดเรียกว่า มีเทศน์มหาชาติเทศน์มหาชาติเป็นการพรรณาถึง “ เรื่องพระเวสสันดรชาดก “ คำว่า” ชาดก “ นั้นเป็นชื่อเรียกคัมภีร์ประเภทหนึ่งของพุทธศาสนา ที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนประเภทบุคลาธิษฐาน คือยกตัวละครขึ้นมาเล่าแล้วสอดแทรกคำสอนเข้าไปในการเล่าเรื่องนั้น ๆ ชาดกมีอยู่มากมาย แต่ที่นับว่าสำคัญที่สุดมีอยู่ ๑๐ ชาดก หรือสิบชาติ ตามที่นิยมเรียกกันว่า “ พระเจ้าสิบชาติ “ ในแต่ละชาติพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ กัน เพื่อมุ่งหวังที่จะให้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณการบำเพ็ญบารมีก็คือการกระทำความดี ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล เป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นหรือส่วนร่วม แต่ตามความเป็นจริงแล้วการบำเพ็ญบารมีนั้นย่อมจะทำให้เกิดผลดีทั้งแก่ตัวผู้ กระทำและประชาชนโดยส่วนรวมโดยแท้ เช่น “ การบำเพ็ญสัจจะบารมี” ผู้บำเพ็ญยึดมั่นแต่เฉพาะความเป็นจริง ความเที่ยงตรง บุคคลอื่นได้รับผลก็คือ ไม่ถูกหลอกลวง เป็นต้น อนึ่ง การบำเพ็ญบารมีนั้น แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น หรือ ๓ ระดับคือระดับธรรมดาชั้นต้น ๆ เรียกว่า “ บารมี ” ระดับสูงคือระดับที่ทำได้ค่อนข้างยากเรียกว่า “ อุปบารมี” และระดับสูงสุดคือระดับที่บุคคลซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ไม่สามารถจะทำได้เรียก ว่า “ ปรมัตถบารมี” เทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก ถือเป็นงานบุญพิธีที่สำคัญ เป็นประเพณีที่มีคุณค่าที่ต้องสืบทอดที่นิยมจัดให้มีการมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัด เป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกติจัดหลังวันออกพรรษาและพ้นหน้าทอดกฐินไปแล้วจนตลอดฤดูหนาว ส่วนใหญ่ทางภาคกลางนิยมทำกันในวันขึ้น ๘ ค่ำหรือวันแรม ๘ ค่ำ กลางเดือนสิบสอง ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง ทางภาคเหนือนิยมจัดเทศน์ในเดือนยี่ นอกจากจะเป็นประเพณีลอยกระทงแล้ว ยังมีประเพณี “ตั้งธัมม์หลวง” หมายถึงการฟังพระธรรมเทศนาเรื่องใหญ่หรือเรื่องสำคัญ เพราะธรรมหลวงที่ใช้เทศน์มักจะเป็นเวสสันดรชาดก อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้มาประสูติแลวตรัสรู้เป็นพระ พุทธเจ้าในชาติต่อมา มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ คำว่า “ตั้ง” แปลว่าเริ่มต้น การ ตั้งธรรมหลวง ก็อาจแปลว่าการสดับพระธรรมเทศนาจากคัมภีร์ที่จารขึ้นใหม่เป็นครั้งแรกด้วย ประเพณีนี้ตรงกับงานประเพณีฟังเทศน์มหาชาติของภาคกลาง การตั้งธรรมหลวงนี้ จะจัดขึ้นในเดือนเพ็ญที่เรียกว่าเดือนยี่เพง (ยี่เป็ง) คือวันเพ็ญเดือน ๑๒ จะมีการเตรียมงานมากมาย นับตั้งแต่การเตรียมสถานที่ในการเทศน์และการเตรียมตัวของผู้จะมาฟังเทศน์ ถือเป็นพิธีใหญ่คู่งานทานสลากภัตต์ ดังนั้นจึงมีคตินิยมว่า ในวัดหนึ่งนั้นปีใดที่จัดงานทานสลากภัตต์ก็จะไม่จัดงานตั้งธรรมหลวง และปีใดที่จัดงานตั้งธรรมหลวงก็จะไม่จัดงานทานสลกภัตต์นอกจากเทศน์มหาชาติ หรือเวสสันดรชาดกแล้ว ธรรมหรือคัมภีร์ที่นำมาเทศน์ในงานตั้งธรรมหลวงนี้ อาจเป็นคัมภีร์ขนาดยาวเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งทางวัดและคณะศรัทธาจะช่วยกัน พิจารณา โดยอาจเป็นเรื่องในหมวด ทศชาติชาดกปัญญาสชาดก หรือชาดกนอกนิบาตเรื่องอื่น แต่ที่นิยมกันมากคือเรื่อง “มหาชาติ” หรือเวสสันดรชาดก ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ จะไปเกิดในแผ่นดินยุคพระศรีอาริยะเมตไตรยในอนาคตเช่นกัน ซึ่งหากเป็นธรรมที่มีใช่เรื่องมหาชาติแล้วก็มักจะฟังกันไม่เกิน ๓ วัน แต่หากเป็นเวสสันดรชาดกหรือมหาชาติแล้วอาจมีการฟังเทศน์ต่อเนื่องกันไปถึง ๗ วัน โดยแบ่งการเทศน์เป็นวันแรกเทศน์ธรรมวัตร วันที่สองเทศน์คาถาพัน ก่อนที่จะเทศน์มหาชาติก็จะเทศน์เรื่องอื่นไปเรื่อย ๆ พอถึงวันสุดท้ายก็จะเทศน์ด้วยคัมภีร์ชื่อ มาลัยต้น มาลัยปลาย และอานิสงส์มหาชาติ รุ่งขึ้นเวลาเช้ามืดก็จะเริ่มเทศน์มหาชาติตั้งแต่กัณฑ์ทศพรเรื่อยไป จนครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ซึ่งมักจะไปเสร็ฐเอาในเวลาทุ่มเศษ แล้วจะมีการเทศนธรรมพุทธาภิเษกปฐมสมโพธิ สวดมนต์เจ็ดตำนานย่อ ธัมมจักกัปปวัดตสูตร และสวดพุทธาภิเษก ปัจจุบันนิยมเทศน์จบภายในวันเดียวเจ้าของกัณฑ์จะนิมนต์พระที่เทศน์เฉพาะกัณฑ์นั้น ๆ มาเทศน์ เรียก “เทศน์กินกัณฑ์ “
ทำนองที่ใช้เทศน์แบบพื้นเมืองเรียกตามแบบลานนาว่า “ระบำ” การเรียกชื่อกัณฑ์ ทางภาษาเหนือเรียกว่า “ผูก” ด้วยเหตุที่เทศน์มหาชาติเป็นที่นิยม จึง มีนักปราชญ์ฉบับล้านนาแต่งธรรมเป็นจำนวนถึงประมาณ ๑๕๐ ฉบับหรือสำนวน เช่นฉบับวิงวอนน้อย วิงวอนหลวง วิงวอนดอนกลาง หิ่งแก้วมโนวอน ท่าแป้น ริมฅง สร้อยสังกร เป็นต้น ส่วนฉบับที่เป็นภาษาบาลีล้วนเรียกว่า “คาถาพัน๑) ตกแต่งบริเวณพิธีให้มีบรรยากาศคล้ายอยู่ในบริเวณป่า ตามท้องเรื่องเวสสันดรชาดก โดยนำเอา ต้นกล้วย ต้นอ้อย และกิ่งไม้มาผูกตามเสา และบริเวณรอบ ๆ ธรรมาสน์ ประดับธงทิว และ ราวัติ ฉัตร ตามสมควร ๒) ตั้งขันสาครใหญ่ หรือจะใช้อ่างใหญ่ที่สมควรก็ได้ใส่น้ำสะอาดเต็ม สำหรับปักเทียนบูชาประจำกัณฑ์ ในระหว่างที่พระเทศน์ น้ำในภาชนะที่ตั้งนี้เสร็จพิธีแล้ว ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ที่สำคัญ ภาชนะใส่น้ำนี้ตั้งหน้าธรรมาสน์ กลางบริเวณพิธี ๓) เตรียมเทียนเล็ก ๆ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม แล้วนับแยกจำนวนเป็นมัด มัดหนึ่งมีจำนวนเท่าคาถาของกัณฑ์หนึ่ง แล้วทำเครื่องหมายไว้ให้ทราบ ว่ามัดไหนสำหรับบูชาคาถากัณฑ์ใด เมื่อถึงคราวเทศน์กัณฑ์นั้นก็จะเอาเทียนมัดนั้นออกจุดบูชาติดรอบ ๆ ภาชนะน้ำ ต่อกันไปจนจบกัณฑ์ให้หมดมัดพอดี ครบ ๑๓ กัณฑ์ถ้วน จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เท่าจำนวนคาถา บางแห่งนิยมทำธงเล็ก ๆ ๑,๐๐๐ คัน แบ่งจำนวนเท่าคาถาประจำกัณฑ์เช่นอย่างเทียน แล้วปักธงบูชาระหว่างกัณฑ์บนหยวกกล้วย แต่การใช้ธงไม่เป็นที่นิยม เช่น เทียน การจุดเทียนหรือปักธงบูชากัณฑ์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพผู้รับกัณฑ์นั้น ๆ การเทศน์เวสสันดร มีวิธีเทศน์เป็นทำนองโดยเฉพาะ จะต้องได้รับการฝึกอบรมศึกษาต่อท่านผู้ทรงคุณวุฒิทางนี้เป็นพิเศษ ส่วนการเทศน์จตุราริยสัจจกถา มีระเบียบพิธีอย่างเทศน์ในงานดังกล่าวแล้วข้างต้น ความเป็นมาของคำว่า “มหาชาติ” และเทศน์มหาชาติ อันเวสสันดรชาดกนี้ คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า เป็นพุทธดำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแต่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่น และมวลหมู่พระประยูรญาติที่นิโครธารามมหาวิหาร ในนครกบิลพัสดุ์ ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา และพระวงศ์ศากยะ เพราะปรารถฝนโบกขรพรรษให้เป็นเหตุ จึงตรัสวสสันดรชาดกในที่นี้ เวสันดรชาดกนี้ เป็นเรื่องใหญ่ยืดยาว ท่านจึงจัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดก รวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่องที่เรียกว่าทศชาติแต่อีก ๙ เรื่องเหตุใดจึงไม่เรียกว่ามหาชาติ คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดียวว่าข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดประทานอธิบายว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่นๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ อย่างคือทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสีทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัด ระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกตเนกขัมมบารมีทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกตทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช ๕.วิริยบารมี ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อนสัจจบารมี ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมาณหลบหนีก็ทรงติดตามมาให้ขันติบารมี ทรง อดทนต่อความยากลำบากต่างๆ ขณะที่เดนทางมายังเขาวงกตและตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั้น แม้เมื่อทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณ พระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้เมตตาบารมี เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฏ์ มาทูลขอช้างปัจจัยนาเคนทร์ เพราะเมืองกลิงราษฏร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตาประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร โดยอ้างว่าตนได้รับความลำบากต่างๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วยอุเบกขาบารมี เมื่อ ทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือพระองค์ก็ทรงบำเพ็ญอุเบกขา คือทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้วอธิษฐานบารมี คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณเบื้องหน้า แม้จะมีอุปสรรคก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่างๆ เพราะตระหนักในน้ำพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์ จึงเรียกกันว่ามหาชาติ และพันเอกพระสารสาสน์พลขันธ์ (เยรินี) กล่าวไว้ว่าพระโพธิสัตว์ในกำเนิดพระเวสสันดรได้สร้างแบบของมนุษย์ผู้ก้าวถึง ขั้นสูงสุดแห่งการดำเนินในทางวิวัฒนาการอันนำไปสู่ความเต็มเปี่ยมทาง จริยธรรมและความรู้เหมาะแก่การข้ามพ้นโอฆะห้วงสุดท้าย ซึ่งจะแยกออกเสียได้จากการเกิดเป็นเทวดาเพราะเหตุนี้กำเนิดสุดท้ายจึงได้นาม ว่า“มหาชาติ”การที่เรียก มหาเวสสันดรชาดกว่า“มหาชาติ” นี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยของเรานิยมเรียกและเป็นที่หมายรู้กันมาแต่สมัยกรุง สุโขทัยราชธานี เพราะปรากฏตามศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๓ ที่เรียกว่าซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ ในสมัยพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑) มีกล่าวไว้ว่า“ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระมหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลย” เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า การมีเทศน์มหาชาตินี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมมีเทศน์กันมานานแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เครื่องกัณฑ์เทศน์ของที่ใส่กระจาดเป็นเครื่องกัณฑ์เทศน์ มีขนมต่างๆ อาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร ปลาแห้ง เนื้อเค็ม และส้มสุกลูกไม้ตามแต่จะหาได้ มักมีกล้วยทั้งเครือ มะพร้าวทั้งทลาย และอ้อยทั้งต้น ตามคตินิยมว่าเป็นของป่าดังที่มีในเขาวงกตเครื่องกัณฑ์ที่ถูกแบบแผนปรากฏในเรื่อง ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีความตอนหนึ่งว่า“เครื่อง กัณฑ์มักมีเครื่องสรรพาหาร ผลไม้กับวัตถุปัจจัยคือเงินตราเรานี่ดีๆ และผ้าไตร อันนี้เป็นธรรมเนียมไม่ใคร่ขาด ที่มีเครื่องบริขารอื่นต่างๆ เพิ่มเติมอีกด้วยก็มีมากบริขาร” สำหรับมหาชาติที่ถือว่าถูกแบบแผนนั้น มักจัดเป็นจตุปัจจัยคือ “ผ้าไตรนั้นอนุโลมเป็นตัว จีวรปัจจัยสรรพาหาร ผลไม้ อนุโลมเป็น บิณฑบาตปัจจัยเสื่อ สาด อาสนะ ไม้กวาด เลื่อย สิ่ว ขวาน อนุโลมใน เสนาสนะปัจจัยยาและเครื่องยาต่างๆ น้ำผึ้ง น้ำตาล อนุโลมคิลานปัจจัยบริขาร”ส่วนวัตถุปัจจัยได้แก่เงินเหรียญติดเทียนซึ่งปักบนเชิงรองพานตั้งไว้ หากมีผู้บริจาคเงิน ธนบัตรก็ใช้ไม้เล็กๆ คีบธนบัตรปักลงที่เทียนอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ก็ต้องจัดจัดเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ มีเทียนประจำกัณฑ์นี้ เครื่องบูชาอื่นที่เว้นไม่ได้ก็คือฉัตร , ธงรูปชายธง, ธูป, เทียนคาถา, ดอกไม้ อย่างละพันเท่าจำนวนคาถาที่ทั้งเรื่องมี จำนวนหนึ่งพันคาถา มีผ้าเขียนภาพระบายสีหรือปักด้วยไหมเป็นรูปภาพประจำกัณฑ์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ที่เรียกว่า“ผ้าพระบฏิ” หรือ“ภาพพระบฏิ”มีพานหมากใส่พูลถวายพระด้วย พานหมากหรือขันใส่หมากนี้ บางแห่งก็ประดับประดาอย่างสวยงามเรียกว่า“หมากพนม” คือ เอาพานแว่นฟ้าสองชั้น ใส่หมากพลู จัดเป็นรูปพุ่มประดับด้วยฟักทอง มะละกอ เครื่องสดแกะสลัก ประดับด้วยดอกไม้สดก็มีบ้าง สำหรับเทียนคาถาพันหนึ่งนั้น จะแบ่งปักบนขันสาครทำน้ำมนต์เท่าจำนวนคาถาของแต่ละกัณฑ์
ในการเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ มีจำนวนคาถาและเพลงปี่พาทย์ตามทำนองที่กำหนดไว้ตามลำดับ ดังนี้ ๑. กัณฑ์ทศพร ๑๙ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ สาธุการกัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ ตวงพระธาตุ ๓. กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๒๐๙ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ พญาโศก ๔. กัณฑ์วนปเวศน ๕๗ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ พญาเดิน ๕. กัณฑ์ชูชก ๗๙ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ เช่นเหล้า กัณฑ์จุลพน ๓๕ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ คุกพาทย์กัณฑ์มหาพน ๘๐ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ เชิดกล้อง๘. กัณฑ์กุมาร ๑๐๑ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ โอดเชิดฉิ่ง ๙. กัณฑ์มัทรี ๙๐ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ ทยอยโอด
๑๐. กัณฑ์สักบรรพ ๔๓ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ กลม ๑๑. กัณฑ์มหาราช ๖๙ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ กราวนอก ๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๓๖ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ ตระนอน ๑๓. กัณฑ์นครกัณฑ ๔๘ คาถา เพลงประจำกัณฑ์คือ กลองโยน ตำนานเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ การเทศน์มหาชาติ คือการมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญเป็นเทศกาลที่คงความหมายอย่างแท้จริง การเทศน์ทุกกัณฑ์จะมีผู้เป็นเจ้าภาพจัดกัณฑ์เทศน์ถวาย เมื่อพระที่ตนรับกัณฑ์เทศน์ขึ้นเทศน์เจ้าภาพจะจุดเทียนบูชาคาถาหว่านข้าวตอกข้าวสาร การเทศน์ในสมัยก่อนพระเจ้าของกัณฑ์จะอ่านจากอักษรธรรม(อักษรลาว) ซึ่งจารลงบนใบลานเป็นแผ่นยาว คำว่า"จาร" มาจากภาษาเขมรแปลว่า การเขียนด้วยเหล็กแหลมบนใบลาน แต่ปัจจุบันจะนิยมพิมพ์ลงบนใบลานเป็นตัวหนังสือไทยปัจจุบัน เป็นเรื่องราวในแต่ละกัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสำหรับพระรุ่นใหม่ เมื่อจบกัณฑ์จะตีฆ้องเป็นสัญญาณ การเป็นเจ้าของกัณฑ์ในหมู่บ้านในชนบทอาจแบ่งเจ้าภาพเป็นคุ้ม เรื่องราวและประวัติความเป็นมาแต่ละกัณฑ์มีดังนี้
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญท้าวสักกะเทวราช สวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้มีคิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่าผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทังหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต พระนางเทพผุสดีได้จุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษา จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า"เวสสันดร" ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค" เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา ราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดาชื่อกัณหาพระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อมาพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาคพระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศ เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระนคร กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฎิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
ที่ ๗ มหาพน เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร
กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก
กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึก จนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทาง จนค่ำเมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราชเป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพีเมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้าณอาศรมดาบสที่เขาวงกตพระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนครพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาพระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี และเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชน ท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ กล่าวคือ ถ้าพระสงฆ์จะเทศน์กัณฑ์ทศพรก็จุดเทียน ๑๙ เล่ม กัณฑ์หิมพานต์ก็จุดเทียนคาถา ๑๓๙ เล่ม ฯลฯ "helvetica" , sans-serif;">ที่มา :
https://www.phuttha.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น